วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

4. เป้าหมายของการจัดการความรู้

http://portal.in.th/learninghome/pages/12088/  ได้รวบรวมไว้ว่า การจัดการความรู้เป็นกระบวนการที่เป็นวงจร ต่อเนื่อง เกิดการพัฒนางานอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เป้าหมาย คือ การพัฒนางานและพัฒนาคน โดยมีความรู้เป็นเครื่องมือ มีกระบวนการจัดการความรู้เป็นเครื่องมือ การจัดการความรู้มีเป้าหมาย 3ประการใหญ่ ๆ ได้แก่ (1) เพื่อพัฒนางาน ให้มีคุณภาพและผลสัมฤทธิ์ยิ่งขึ้น (2) เพื่อการพัฒนาคน คือ พัฒนาผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งในที่นี้ได้ประโยชน์มากที่สุด คือ ข้าราชการชั้นผู้น้อย (3) เพื่อการพัฒนา "ฐานความรู้" ขององค์กรหรือหน่วยงานหรือทุนปัญญาขององค์กร ซึ่งจะช่วยทำให้องค์กรลดความยากลำบากหรือความไม่แน่นอนในอนาคตลง
วิจารณ์ พานิช . (2544 : 34)  ได้กล่าวไว้ว่า การจัดการความรู้มีเป้าหมาย 3 ประการใหญ่ ๆ ได้แก่ (1) เพื่อพัฒนางาน ให้มีคุณภาพและผลสัมฤทธิ์ยิ่งขึ้น (2) เพื่อการพัฒนาคน คือ พัฒนาผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งในที่นี้ได้ประโยชน์มากที่สุด คือ ข้าราชการชั้นผู้น้อย (3) เพื่อการพัฒนา "ฐานความรู้" ขององค์กรหรือหน่วยงานหรือทุนปัญญาขององค์กร ซึ่งจะช่วยทำให้องค์กรลดความยากลำบากหรือความไม่แน่นอนในอนาคตลง
http://region4.prd.go.th/ewt_news.php?nid=1736&filename=km_web ได้รวบรวมไว้ว่า การจัดการความรู้เป็นกระบวนการที่เป็นวงจรต่อเนื่อง เกิดการพัฒนางานอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เป้าหมาย คือ การพัฒนางานและพัฒนาคน โดยมีความรู้เป็นเครื่องมือ มีกระบวนการจัดการความรู้เป็นเครื่องมือ เป้าหมายในการจัดการความรู้ สามารถแบ่งออกได้ ๓ ระดับ ดังนี้ 1. พัฒนาองค์กร คือ สามารถบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ตามวิสัยทัศน์ / ยุทธศาสตร์ เช่นผู้รับบริการมีความพึงพอใจ 2. พัฒนากระบวนการทำงานทั้งให้เกิดประสิทธิภาพ เช่น ความผิดพลาดลดลง, ปรับปรุง พัฒนากระบวนการให้ทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ให้เกิดประสิทธิผล เช่น การพัฒนาผลผลิต, การลดต้นทุน และให้เกิดนวัตกรรม เช่น พัฒนาการระดมความคิด, การนำแนวความคิดใหม่มาใช้จริง 3. พัฒนาคน เพื่อให้บุคลากรเกิดการเรียนรู้ มีความคล่องตัวในการทำงาน และบุคลากรเกิดความพึงพอใจในการทำงาน สรุป การจัดการความรู้เป็นกระบวนการที่เป็นวงจรต่อเนื่อง เกิดการพัฒนางานอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เป้าหมาย คือ การพัฒนางานและพัฒนาคน โดยมีความรู้เป็นเครื่องมือ มีกระบวนการจัดการความรู้เป็นเครื่องมือ เป้าหมายในการจัดการความรู้ สามารถแบ่งออกได้ ๓ ระดับ ดังนี้ (1) เพื่อพัฒนางาน ให้มีคุณภาพและผลสัมฤทธิ์ยิ่งขึ้น (2) เพื่อการพัฒนาคน คือ พัฒนาผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งในที่นี้ได้ประโยชน์มากที่สุด คือ ข้าราชการชั้นผู้น้อย (3) เพื่อการพัฒนา "ฐานความรู้" ขององค์กรหรือหน่วยงานหรือทุนปัญญาขององค์กร ซึ่งจะช่วยทำให้องค์กรลดความยากลำบากหรือความไม่แน่นอนในอนาคตลง

กล่าวโดยสรุป
เป้าหมายหลักของการจัดการความรู้  คือ การใช้ประโยชน์จากความรู้มาเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงานขององค์การเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันขององค์การ การจัดการความรู้มีความสำคัญอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วหรือกำลังพัฒนาก็ตาม เป้าหมายของการจัดการความรู้ มีดังนี้
1. เพื่อปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานทางธุรกิจที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
2. เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ
3. เพื่อปรับปรุงเทคนิค กระบวนการ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และนำความรู้นั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์

ที่มา
http://portal.in.th/learninghome/pages/12088/  ได้เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 19 กรกฎคม 2555
วิจารณ์ พานิช . (2544). การจัดการองค์ความรู้. กรุงเทพฯ: สามเจริญพานิช. เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 19 กรกฎคม 2556

http://region4.prd.go.th/ewt_news.php?nid=1736&filename=km_web ได้เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 19 กรกฎคม 2556

วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

3. หลักการจัดการความรู้


               วิจารณ์ พานิช (2549 : 23-24) หลักจัดการความรู้ หรือเคเอ็ม (KM = Knowledge Management) คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด
            โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ 1) ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม 2) ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม
            
                บูรชัย  ศิริมหาสาคร (2548 : 56-58) ได้กล่าวว่า หลักการจัดการความรู้ มีแนวคิดที่เชื่อว่า บุคลากรเป็นทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุดขององค์กร (People are our most important asset) โดยเชื่อมั่นว่า บุคลากรเป็นปัจจัยหลักที่จะทำให้องค์กรบรรลุจุดประสงค์และเป้าหมายได้ โดยเฉพาะในโลกยุคปัจจุบันซึ่งถือว่า เป็นยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge – based Economy) ซึ่งเป็นเศรษฐกิจที่อาศัยความรู้เป็นตัวขับเคลื่อนหลัก ที่ทำให้เกิดการเติบโตและสร้างงานในอุตสาหกรรม ทุกรูปแบบการที่องค์กรจะสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ซึ่งขึ้นอยู่กับวงจรการเรียนรู้ในองค์กรโดยมีกระบวนการที่เป็นระบบในการค้นหา สร้าง รวบรวม จัดเก็บ เผยแพร่ ถ่ายทอด แบ่งปันและใช้ความรู้  ส่วน วันทนา เมืองจันทร์ (2548) ยังมีแนวคิดของการจัดการความรู้ ว่า รูปแบบวิธีการพัฒนาให้ส่วน ราชการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ วิธีหนึ่ง คือ การจัดการความรู้
            
                 นพ.วิจารณ์ พานิช  (2544 : 12-14) ได้กล่าวว่า การจัดการความรู้สามารถใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 4 ประการ ได้แก่ 1) บรรลุเป้าหมายของงาน 2) บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน 3) บรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปเป็นองค์กรเรียนรู้ 4) บรรลุความเป็นชุมชน เป็นหมู่คณะ ความเอื้ออาทรระหว่างกันในที่ทำงาน

กล่าวโดยสรุป
            หลักการจัดความรู้ คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด

ที่มา

              วิจารณ์ พานิช.  (2549). การจัดการความรู้ฉบับนักปฏิบัติ. กรุงเทพ : บริษัทตถาดา พับลิเคชั่น.
      
               บูรชัย  ศิริมหาสาคร . (2548). องค์การแห่งความรู้: จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร. สำนักพิมพ์รัตนไตร.

              นพ.วิจารณ์ พานิช . (2544).  การจัดการความรู้ . กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์ ห้างหุ้นส่วน  จำกัด โรงพิมพ์อักษรไทย.


2. นิยามการจัดการความรู้

            พรธิดา วิเชียรปัญญา (2547:32) ได้กล่าวไว้ว่า การจัดการความรู้ หมายถึงกระบวนการอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับการประมวลข้อมูล สารสนเทศ ความคิด การกระทำ ตลอดจนประสบการณ์ของบุคคล เพื่อสร้างเป็นความรู้หรือนวัตกรรม และการจัดเก็บในลักษณะของแหล่งข้อมูลที่บุคคลสามารถเข้าเข้าถึงได้ โดยอาศัยช่องทางต่างๆที่องค์กรจัดเตรียมไว้ เพื่อนำความรู้ที่มีอยู่ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน ซึ่งก่อให้เกิดการแบ่งปันและถ่ายโอนความรู้ และในที่สุดความรู้ที่มีอยู่จะแพร่กระจายและไหลเวียนทั่วทั้งองค์กรอย่างสมดุล เป็นไปเพื่อเพิ่มความสามารถในการพัฒนาผลผลิตและองค์กร
ประเวศ วะสี (2548:31-32) ได้กล่าวไว้ว่า คำว่า การจัดการอาจทำให้เกิดความรู้สึกที่ไม่ค่อยดีนักในสังคมไทย เพราะเหมือนจะไปใช้อำนาจจัดการอะไรๆ แต่คำว่า จัดการความรู้ (Knowledge Management) มีความหมายจำเพาะ ว่าหมายถึงการจัดการให้มีการค้นพบความรู้ ความชำนาญที่แฝงเร้นในตัวคน หาทางนำออกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตกแต่งให้ง่ายต่อการใช้สอยและมีประโยชน์เพิ่มขึ้น มีการต่อยอดให้งดงาม และใช้ได้เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงและกาลเทศะยิ่งขึ้น มีความรู้ใหม่หรือนวัตกรรมเกิดขึ้นจากการเอาความรู้ที่ไม่เหมือนกันมาเจอกัน ข้อสำคัญก่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันของคนทั้งหมดที่ร่วมในกระบวนการก่อให้เกิดปัญญาร่วม (Collective Wisdom) ทำให้แก้ปัญหาหรือพัฒนาในเรื่องยากๆ ได้สำเร็จ
ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์ (2549:47) ได้กล่าวไว้ว่า การจัดการความรู้คือ กระบวนการในการสร้าง ประมวล เผยแพร่ และใช้ความรู้ เพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการดำเนินงาน

กล่าวโดยสรุป
             การจัดการความรู้ หมายถึงกระบวนการอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับการประมวลข้อมูล สารสนเทศ ความคิด การกระทำ ตลอดจนประสบการณ์ของบุคคล เพื่อสร้างเป็นความรู้หรือนวัตกรรม และการจัดเก็บในลักษณะของแหล่งข้อมูลที่บุคคลสามารถเข้าเข้าถึงได้ โดยอาศัยช่องทางต่างๆที่องค์กรจัดเตรียมไว้ เพื่อนำความรู้ที่มีอยู่ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน เผยแพร่ และใช้ความรู้ เพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการดำเนินงาน

ที่มา
พรธิดา วิเชียรปัญญา.(2547).การจัดการความรู้: พื้นฐานและการประยุกต์ใช้.กรุงเทพฯ:เอ็กเปอร์เน็ท.
ประเวศ  วะสี. (2548). การจัดการความรู้ : กระบวนการปลดปล่อยมนุษย์สู่ศักยภาพ เสรีภาพ และความสุข. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม.
                ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์.(2549).องค์การแห่งความรู้:จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ.รัตนไตร กรุงเทพฯ

1. นิยามความรู้

                มานัส ปันหล้า (http://www.gotoknow.org/posts/396638) ได้รวบรวมไว้ว่า ความรู้ คือ สารสนเทศที่นำไปสู่การปฏิบัติ เป็นเนื้อหาข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยข้อเท็จจริง ความคิดเห็น ทฤษฎี หลักการ รูปแบบ กรอบความคิด หรือข้อมูลอื่นๆที่มีความจำเป็น และเป็นกรอบของการผสมผสานระหว่างประสบการณ์ ค่านิยม ความรอบรู้ในบริบท สำหรับการประเมินค่า และการนำเอาประสบการณ์กับสารสนเทศใหม่ ๆ มาผสมรวมเข้าด้วยกัน
                ชัชวาล วงษ์ประเสริฐ(2548:17) ได้รวบรวมไว้ว่า ความรู้คือ กรอบของความผสมผสานระหว่างสถานการณ์ ค่านิยม ความรู้ในบริบท และความรู้แจ้งอย่างชัดเจน ซึ่งโดยทั่วไปความรู้จะอยู่ใกล้ชิดกับกิจกรรมมากกว่าข้อมูล และสารสนเทศทำให้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญของความรู้
                พรรณี สวนเพลง (2552:15) ได้รวบรวมไว้ว่า ความรู้หมายถึงสิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้า หรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติ และทักษะความเข้าใจ หรือสารสนเทศที่ได้รับมาจากประสบการณ์ สภาพแวดล้อมที่สามารถสื่อสารและแบ่งปันกันได้ และการนำความรู้ไปใช้ ประโยชน์ในการสรุป การตัดสินใจ และการคาดการณ์ข้างหน้า รวมถึงการแก้ไขปัญหาต่างๆ

กล่าวโดยสรุป
             ความรู้ คือ สารสนเทศที่นำไปสู่การปฏิบัติ เป็นเนื้อหาข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยข้อเท็จจริง ความคิดเห็น ทฤษฎี หลักการ รูปแบบ กรอบความคิด หรือข้อมูลอื่นๆที่มีความจำเป็นซึ่งโดยทั่วไปความรู้จะอยู่ใกล้ชิดกับกิจกรรมมากกว่าข้อมูล และอาจสั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้า หรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติ และทักษะความเข้าใจ หรือสารสนเทศที่ได้รับมาจากประสบการณ์ สภาพแวดล้อมที่สามารถสื่อสารและแบ่งปันกันได้ และการนำความรู้ไปใช้ ประโยชน์ในการสรุป การตัดสินใจ และการคาดการณ์ข้างหน้า รวมถึงการแก้ไขปัญหาต่างๆ

ที่มา:
                มานัส ปันหล้า .ชื่อเว็บไซต์ http://www.gotoknow.org/posts/396638 เข้าถึงเมื่อ 22 เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2556.
                ชัชวาล วงษ์ประเสริฐ.(2548).การจัดการความรู้ในองค์กรธุรกิจ.กรุงเทพฯ:เอ็กซเปอร์เน็ท.
                พรรณี สวนเพลง. (2552).เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมสำหรับการจัดการความรู้.กรุงเทพฯ:ซีเอ็ดยูเคชั่น