วันอังคารที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2556

7. ปัจจัยความสำเร็จในการจัดการความรู้

ยุทธนา แซ่เตียว (2547 : 76)  กล่าวไว้ว่า ปัจจัยที่สำคัญที่สุดต่อการถ่ายทอดความรู้ภายในองค์กรได้แก่วัฒนธรรมขององค์กรในการถ่ายทอดความรู้ระหว่างบุคคลภายในองค์กรด้วยกัน สิ่งหนึ่งที่มักจะเป็นปัญหาอยู่เสมอก็คือ การที่ผู้ที่มีความรู้นั้นไม่อยากถ่ายทอด หรือเป็นไปในลักษณะที่เรียกว่า อมภูมิซึ่งอาจเป็นเพราะการมีความรู้ดังกล่าวทำให้บุคคลนั้นมีอำนาจ มีความสำคัญ บางองค์กรทำให้ปัญหาดังกล่าวนี้เลวร้ายมากยิ่งขึ้นด้วยการประเมินบุคลากรจากความรู้ที่มี โดยไม่ให้โอกาสในการสนับสนุนบุคลากรอย่างทั่วถึง หรือแม้แต่การนำความรู้มาใช้เพื่อเป็นอำนาจต่อรองทางการเมืองภายในองค์กรอีกด้วย ในขณะที่ฟากผู้รับความรู้ ก็เกิดปัญหาความไม่ยอมรับในตัวผู้ถ่ายทอดความรู้โดยเฉพาะในกรณีที่เป็นบุคลากรระดับเดียวกัน เคยปฏิบัติงานร่วมกันมานาน  บุคคลที่มีประสบการณ์มากกว่าความรู้ มักจะเปิดรับความรู้จากการถ่ายทอดในลักษณะดังกล่าวนี้ได้ยาก หรือบางองค์อรมีวัฒนธรรมการแข่งขันที่สูงมาก ลำพังจะทำให้พนักงานมีความรักความสามัคคีกันก็เป็นเรื่องยากอยู่แล้ว  เมื่อต้องมีการแข่งขันกันยิ่งทำให้การรับและถ่ายทอดความรู้แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย ปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กรอีกลักษะหนึ่งคือ  บุคคลขาดความกระตือรือร้นในการหาความรู้โดยทั่วไปการหาความรู้ของบุคลากรมักจะมีแนวโน้มที่ถดถอยลงเมื่ออายุสูงขึ้น เรียกว่าทำงานอยู่ตัวแล้ว ก็เลยพยายามทำงานจากทักษะหรือประสบการณ์มากกว่าการใช้ความคิดที่ได้จากการเรียนรู้มาพัฒนาตนเอง

ไพโรจน์ ชลารักษ์ (2551 : 89)  กล่าวว่า ปัจจัยหรือองค์ประกอบของความรู้(factors of knowledge) ต้องอาศัยปัจจัยทั้งภายในและภายนอกดังนี้
ปัจจัยภายนอก หมายถึง สิ่งที่คนสามารถรับรู้ (perceive) หรือสัมผัส แล้วทำให้เกิดความรู้ขึ้นในตัวคนได้แก่ ข้อเท็จจริง (fact) หรือปรากฏการณ์ธรรมชาติ (phenomena) สิ่งเหล่านี้นั้นมีอยู่ เป็นอยู่ ดำรงอยู่ (being) เป็นปกติมาก่อนกำเนิดของมนุษย์แล้วไม่ว่าจะมีมนุษย์เกิดขึ้นหรือไม่ก็ตาม และเมื่อมนุษย์ถือกำเนิดขึ้นแล้ว ปรากฏการณ์ธรรมชาติเหล่านนี้ก็ยังคงมี เป็นอยู่ หรือดำรงอยู่เช่นเดิม มนุษย์มีศักยภาพในการรับรู้หรือสัมผัสสิ่งเหล่านนี้ได้ ข้อมูล (data)เป็นสิ่งที่มนุษย์บัญญัติ (name) ขึ้นจากการได้รับรู้หรือสัมผัสปรากฏการณ์ธรรมชาติแล้วจำแนกแยกแยะ (identifying) จดจำหรือทำการบันทึก(recording)  และแจงนับ (numbering) ไว้เมื่อใดที่มนุษย์รับรู้หรือสัมผัสข้อมูลก็จะเกิดความรู้ขึ้นมาได้เช่นกัน สารสนเทศ (information) หมายถึงข้อมูลที่ได้รับการจัดกระทำโดยมนุษย์เพื่อให้มีความหมายสำหรับใช้สื่อสารกับมนุษย์ด้วยกันให้กว้างขวางขึ้น เมื่อมนุษย์รับสารสนเทศแล้วก็จะนำไปผสมผสานกับข้อมูล หรือความรู้เดิมทำให้เกิดความรู้ใหม่ เหตูการณ์ (event) หมายถึง ปรากฏการณ์อย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นแล้วดำเนินไปหรือดำรงอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งซึ่งไม่นานนักแล้วก็สิ้นสูญหรือหยุดไป ปัจจัยภายใน หมายถึง ภาวะในตัวมนุษย์เอง ณ เวลาที่ได้รับรู้หรือสัมผัสปัจจัยภายนอกว่าพร้อมที่จะรู้ได้เพียงใด หากอยู่ในภาวะไม่พร้อมก็อาจไม่เกิดความรู้ได้หรืออาจไม่รับรู้เอาเลย จิต (mind) เป็นธาตุ (element) นามธรรม (abstract) ที่เป็นตัวรู้ สรรพสิ่ง ในคำสอนของพระพุทธศาสนาอธิบายว่าจิตเปลี่ยนแปลงง่ายๆและเร็วมากเปลี่ยนแปลงตลอกเวลาไม่อยู่นิ่งจึงสามารถสัมผัสและรับรู้สิ่งต่างๆได้รวดเร็วและแต่มากแต่ถ้าเมื่อใดที่คนสามารถทำให้จิตของตนหยุดนิ่งเป็นสมาธิ อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้วจะเกิดความสะว่างเป็นปัญญาได้และจะไม่รับรู้สิ่งภายนอกอื่นอีกเลย อารมณ์ (emotion) หมายถึงภาวะจิตที่นิ่งหรือมุ่งอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นกระแสติดต่อกันยาวนานโดยสิ่งอื่นไม่สามารถเข้าถึงหรือเข้าแทนได้

บดินทร์ วิจารณ์. (2547 : 65) กล่าวไว้ว่า ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการจัดการความรู้การจัดการความรู้ได้สำเร็จแท้จริงหมายความว่า ใช้ความรู้แก้ไขปัญหาที่เผชิญอยู่สำเร็จ ลุล่วงได้ผลลัพธ์สมสมตามความมุ่งหวังที่ตั้งไว้แต่แรก ความสำเร็จในการจัดการความรู้เพื่อแก้ปัญหาจึงมีปัจจัยสำคัญ 3 ประการคือ ปัจจัยในตัวคนหรือปัจจัยภายในองค์กร หมายถึงส่วนประกอบที่เป็นคุณสมบัติของสิ่งที่เกี่ยวข้องกับความรู้ที่จะใช้แก้ปัญหาภายในนั้นถ้าเป็นปัญหาส่วนตัวของบุคคลเดียวก็หมายถึงปัจจัยในตัวบุคคลที่เผชิญปัญหานั้นเอง เช่น ความรู้จักและเข้าใจหรือตระหนักความเป็นปัญหามากน้อยเพียงใดกำลังใจความมุ่งมั่นในการแก้ปัญหามีมากน้อยเพียงใด ความคาดหวังอยากจะให้เป็นไปของปัญหาเป็นอย่างไร และความรู้ที่จะใช้แก้ปัญหามีมากหรือน้อยหรือมีความเหมาะสมเพียงใดเป็นต้น หากเป็นปัญหาในองค์กร ปัจจัยภายในองค์กรได้แก่จำนวนคนในองค์กรความสัมพันธ์ของบุคลากร ปัจจัยภายในองค์กรทัศนคติความมุ่งหวังของคนในองค์กร เอกภาพความสามัคคีของคนในองค์กรและอื่นๆ ถ้าหากเป็นปัญหาสาธารณะ การจัดการความรู้เพื่อแก้ปัญหาสาธารณะให้สำเร็จนอกจากต้องอาศัยปัจจัยทั้งแบบส่วนตัว ปัจจัยลักษะกลุ่มหรือองค์กรแล้วยังต้องคำนึงถึงบรรยากาศ ความรู้สึกและท่าทีทัศนะของผู้ร่วมเผชิญปัญหาด้วยว่าตระหนักถึงความสำคัญของการแสวงหาความรู้และร่วมมือร่วมใจกันใช้ความรู้แก้ปัญหาอย่างจริงจังหรือจริงใจหรือไม่ โดยสรุปแล้วการจัดการความรู้เพื่อแก้ปัญหามีปัจจัยภายในสำคัญ 3 ส่วนคือ ความรู้อันได้แก่ ความรู้ที่ต้องการจัดการกับความรู้ที่จะใช้จัดการความรู้เรื่องนั้น ส่วนที่สองคือความเต็มใจและความตั้งใจในการจัดการ และส่วนที่สามได้แก่ความร่วมมือในการปฏิบัติ ปัจจัยภายนอก หมายถึงส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งโดยตรงและโดยอ้อมที่เกี่ยวกับความรู้และกระบวนการในการแก้ปัญหาซึ่งอาจจำแนกได้เป็น 4 ปัจจัยย่อยดังนี้แหล่งความรู้ที่จะใช้แสวงหาเพื่อสนับสนุนการใช้ความรู้มีหรือไม่เพียงพอหรือไม่ถูกต้องหรือไม่เพียงใด แหล่งสนับสนุนด้านเรื่องเครื่องมืออุปกรณ์ วัสดุ หรือทรัพยากรต่างๆที่ใช้เพื่อการจัดการความรู้เพื่อแก้ปัญหา เช่น การจัดการความรู้เพื่อแก้ปัญหาน้ำเสียของชุมชนเมื่อได้ความรู้เรื่องการแก้ปัญหาน้ำเสียได้แล้วจำเป็นต้องหาสถานที่ เครื่องมือวัสดุอุปกรณ์ เวลาและการแสวงหาวิธีการทำงานที่ดีจึงจะแก้ปัญหาน้ำเสียได้สำเร็จ โอกาสและวิธีการทำงานที่เหมาะสมโอกาส หมายถึง ช่วงเวลาที่เหมาะสม ที่จะทำงานบางอย่าง และโอกาสนั้นสัมพันธ์กับวิธีการทำงานด้วยการแก้ปัญหาเดียวกันแต่ต่างเวลากันอาจต้องใช้วิธีการต่างกัน มิฉะนั้นอาจไม่ประสบความสำเร็จได้ ความร่วมมืออย่างจริงใจและจริงจัง ของผู้เกี่ยวข้องซึ้งบางโอกาสอาจไม่ใช่ผู้รับผลจากการแก้ปัญหาโดยตรง เช่น องค์กรเอกชน หรือหน่วยงานราชการที่เข้าไปร่วมมือช่วยหรือหรือสนับสนุนชุมชน หรือบุคคล หรือองค์กรบางองค์กรให้สามารถใช้ความรู้เพื่อจัดการปัญหา ของชุมชนหรือองค์กรนั้น เมื่อเข้าถึงปัญหาได้แล้วผู้เข้าไปช่วยเหลือร่วมมือตามหรือที่ที่รับผิดชอบ แต่ไม่ได้รับผลตอบแทนจากการแก้ปัญหาโดยตรงความจริงจังในการช่วยร่วมมือแก้ปัญหาอาจไม่เต็มที่หรือน้อยเกินไป ปัจจัยร่วมระหว่างปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก หมายถึงสิ่งหรือ อะไรบางอย่างที่ทำหน้าที่ให้ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกทำงานร่วมกัน ได้อย่างราบรื่น และเกิดประสิทธิผล อาจเรียกสิ่งนี้ว่าการบริหารจัดการแต่เป็นการบริหารจัดการหรือการปฏิบัติเฉพาะกรณีแท้ๆ ที่เรียกว่า เคล็ดลับของความสำเร็จ เช่น เคล็ดลับการปรุงอาหารให้อร่อยกว่ากันจากสูตรผสมและกระบวนการปรุงเหมือนกัน แต่ได้รสชาติออกมาไมเหมือนกัน เป็นต้น ในการจัดการเรียนรู้นั้นผู้จัดการความรู้อาจต้องใช้ กลเม็ดบางอย่างเพื่อช่วยให้เกิดผลสำเร็จสูงกว่าปกติได้

สรุปได้ว่า
            มนุษย์ทุกคนมีปัญหาที่ต้องเผชิญและต้องแก้ไขให้ลุล่วงทุกวันจึงเรียกว่าปัญหาในชีวิตประจำวัน ซึ่งถือได้ว่าเป็นธรรมดาหรือเรื่องปกติของทุกคน ทุกสังคมต้องมีปัญหา โดยธรรมชาติของปัญหามีทั้งปัญหาเล็กและปัญหาใหญ่ ปัญหาส่วนตัวและปัญหาส่วนรวมซึ่งมีสาเหตุมาจากทั้งที่เกิดจากธรรมชาติ และการกระทำของมนุษย์เองการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันต้องใช้ความรู้และการจัดการความรู้อยู่ตลอกเวลาการจัดการความรู้เพื่อแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันต้องจัดการอย่างเป็นระบบที่ดีมีวิธีการที่ดี มีการเรียนรู้และพัฒนาอยู่เสมอ แม้กระทั้งการจัดการความรู้ก็มีปัญหาและอุปสรรคในตัวเองเช่นกัน มนุษย์ทุกคนจึงควรสร้างและพัฒนาปัจจัยแห่งความสำเร็จในการจัดการความรู้ไว้ให้สมบูรณ์อยู่ตลอดเวลา

อ้างอิง
ยุทธนา แซ่เตียว.(2547).การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้: สร้างองค์กรอัจฉริยะกรุงเทพฯ :สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.
ไพโรจน์ ชลารักษ์. (2551). การจัดการความรู้ : สังกัปทางทฤษฎี. พิมพ์ครั้งที่ 1.  นครปฐม :  เพชรเกษม พริ้นติ้งกรุป.
            บดินทร์ วิจารณ์. (2547). การจัดการความรู้สู่ปัญญาปฏิบัติ.พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : เอ็กซเปอร์เน็ท.

6. กระบวนการจัดการความรู้

http://203.157.19.120/km_ict/?p=392  รวบรวมไว้ว่า กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management Process) เป็นกระบวนการแบบหนึ่งที่จะช่วยให้องค์กรเข้าใจถึงขั้นตอนที่ทำให้เกิดกระบวนการจัดการความรู้ หรือพัฒนาการของความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร  ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ดังนี้
1. การบ่งชี้ความรู้ เช่นพิจารณาว่า วิสัยทัศน์/ พันธกิจ/ เป้าหมาย คืออะไร และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เราจำเป็นต้องรู้อะไร ขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้าง, อยู่ในรูปแบบใด, อยู่ที่ใคร
2. การสร้างและแสวงหาความรู้ เช่นการสร้างความรู้ใหม่, แสวงหาความรู้จากภายนอก, รักษาความรู้เก่า, กำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว
3.การจัดความรู้ให้เป็นระบบ - เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้ อย่างเป็นระบบในอนาคต
4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ เช่นปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน, ใช้ภาษาเดียวกัน, ปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์
5. การเข้าถึงความรู้ เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้นั้นเข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT), Web board ,บอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ทำได้หลายวิธีการ โดยกรณีเป็น Explicit Knowledge อาจจัดทำเป็น เอกสาร, ฐานความรู้, เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือกรณีเป็น Tacit Knowledge อาจจัดทำเป็นระบบ ทีมข้ามสายงาน, กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม, ชุมชนแห่งการเรียนรู้, ระบบพี่เลี้ยง, การสับเปลี่ยนงาน, การยืมตัว, เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น
7.การเรียนรู้ ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่นเกิดระบบการเรียนรู้จาก สร้างองค์ความรู้>นำความรู้ไปใช้>เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง

กระบวนการจัดการความรู้ขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. Identification การกำหนดองค์ความรู้ หมายถึง การระบุว่าข้าราชการแต่ละหน้าที่หรือแต่ละกลุ่มต้องมีความรู้หลักและทักษะหลักเรื่องใดบ้างที่ช่วยให้บรรลุเป้าหมายผลการปฏิบัติงาน และช่วยสร้างทักษะชีวิตที่ดีในการทำงาน
2. Knowledge Acquisition การแสวงหาความรู้ หมายถึง การกำหนดแหล่งความรู้กลั่นกรองความรู้พื้นฐาน และความรู้เฉพาะทางแล้วดำเนินการรวบรวม, ดึงความรู้มาจัดเก็บไว้ในฐานความรู้ (Knowledge Center)
3. Knowledge Development การพัฒนาองค์ความรู้ หมายถึงการพัฒนาความรู้หมายถึง กระบวนการที่ข้าราชการแต่ละคนหรือแต่ละกลุ่มนำเอาข้อมูลสารสนเทศและความรู้ที่รวบรวมไว้มาวิเคราะห์สังเคราะห์ประเมิน ทำให้เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง เพื่อใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงานหรือต่อยอดสร้างความรู้ใหม่เทคโนโลยีและนวัตกรรม
4. Knowledge Utilization การใช้ประโยชน์จากความรู้ หมายถึง การใช้ประโยชน์จากความรู้หมายถึง การนำความรู้ที่พัฒนาแล้วที่มีอยู่ในตัวคนหรือที่จัดเก็บไว้มาให้ข้าราชการสืบค้นตามความต้องการที่จำเป็น ได้ทันทีที่ต้องการ และสามารถนำความรู้ไปใช้ในการวิเคราะห์ วินิจฉัย กระบวนการทำงาน การวางแผน หรือการตัดสินใจ
5. Knowledge Sharing การแบ่งปันความรู้ หมายถึง การแบ่งปันความรู้ หมายถึง การถ่ายโอน (transfer) หรือแบ่งปัน (share) ความรู้ระหว่างข้าราชการแต่ละคนหรือแต่ละกลุ่มด้วยกิจกรรมต่าง ๆ และสนับสนุนให้ข้าราชการมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนความรู้ ต่อยอดความและเพิ่มทักษะซึ่งกันและกัน ทำให้สามารถนำความรู้และทักษะนั้นไปปฏิบัติตามได้ทันทีและมีคุณค่ามาก
6. Knowledge Retention การรักษาความรู้ หมายถึง การเก็บรักษาความรู้ให้คงอยู่ในองค์กร เพื่อให้ข้าราชการแต่ละคน แต่ละกลุ่มสามารถเข้าถึงความรู้ได้ตลอดเวลา รวมทั้งการทำให้ความรู้เป็นปัจจุบันหรือทันสมัยอยู่เสมอ

ยุทธนา แซ่เตียว (2547 : 122).  กล่าวว่า ในการจัดการวามรู้นั้นก็เหมือนศาสตร์แห่งการจัดการอื่นๆ คือ มีการว่างแผนและการปฏิบัติ ในขั้นตอนการว่างแผนนั้นไม่ได้มีความแตกต่างจากการว่างแผนอื่นๆ มากนักคือมีการสำรวจสภาพปัจจุบันและการกำหนดเป้าหมาย ส่วนขั้นตอนการนำแผนงานไปปฏิบัตินั้นมีขั้นตอนที่สำคัญคือ การพัฒนาความรู้ (Knowledge Generation) และการถ่ายทอดความรู้ (Knowledge Transfer)
1. การสำรวจและการว่างแผนความรู้ การว่างแผนความรู้ก็เหมือนกับการว่างแผนอื่นๆคือ การเริ่มสำรวจสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ในปัจจุบันก่อนว่าสถานะปัจจุบันในเรื่ององค์ความรู้ภายในองค์กรเป็นเช่นไร
2. การพัฒนาความรู้ (Knowledge Generation) ด้วยคำว่า “พัฒนา” อาจทำให้ฟังดูเหมือนกับว่าเราจะจำกัดความรู้ที่เกิดจากพัฒนาภายในองค์กรแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว การพัฒนาในที่นี้หมายความว่า การทำการใดๆ ก็ได้เพื่อให้ความรู้เข้ามาในองค์กร การพัฒนาความรู้จากภายนอก โดยการเข้าไปซื้อหรือได้มาด้วยวิธีอื่นๆ (Acquisition) และการเช่า (Rent) ความจริงแล้วการพัฒนาความรู้เป็นวิธีที่พบได้บ่อย เช่นการซื้อหนังสือทางวิชาการ การตัดข่าวมาสรุป การเชิญวิทยากรมาให้ความรู้ การหาทีมงานจากหน่วยงานภายนอกเข้ามาร่วมทีมหรือแม้กระทั่งการซื้อ Solution สำเร็จรูปจากที่ปรึกษามาช่วยออกแบบระบบงานบางอย่างหรือเครื่องมือทางการจัดการเพียงแต่ท่านไม่ต้องคิดเอง เพียงแต่ให้ข้อมูลแล้วที่ปรึกษาจะคิดให้ท่านเสร็จโดยไม่ต้องปวดหัว การพัฒนาความรู้ภายในโดยทั่วไปแล้วมักจะเป็นการพัฒนาโดยหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อดูแลงานด้านนี้โดยเฉพาะ เช่น หน่วยวิจัยและพัฒนา ซึ่งเป็นรูปแบบที่พบเห็นบ่อยๆ
3. การถ่ายทอดความรู้ (Knowledge Transfer) และการแบ่งปันความรู้(Knowledge Sharing) คือ กระบวนการที่ทำให้ความรู้ที่พัฒนา มีการแพร่กระจายไปสู่บุคลากรที่เป็นเป้าหมาย ในกระบวนการถ่ายทอดความรู้นั้นแต่ละอย่างก็มีเป้าหมายแตกต่างกันไปใน 2 ลักษณะคือ  เน้นประสิทธิภาพและเน้นประสิทธิผล

สรุปได้ว่า
กระบวนการจัดการความรู้จะต้องมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1.  การกำหนดองค์ความรู้ หมายถึง การระบุว่าข้าราชการแต่ละหน้าที่หรือแต่ละกลุ่มต้องมีความรู้หลักและทักษะหลักเรื่องใดบ้างที่ช่วยให้บรรลุเป้าหมายผลการปฏิบัติงาน และช่วยสร้างทักษะชีวิตที่ดีในการทำงาน
2. การแสวงหาความรู้ หมายถึง การกำหนดแหล่งความรู้กลั่นกรองความรู้พื้นฐาน และความรู้เฉพาะทางแล้วดำเนินการรวบรวม
3. การพัฒนาองค์ความรู้ หมายถึงการพัฒนาความรู้หมายถึง กระบวนการที่ข้าราชการแต่ละคนหรือแต่ละกลุ่มนำเอาข้อมูลสารสนเทศและความรู้ที่รวบรวมไว้มาวิเคราะห์สังเคราะห์ประเมิน ทำให้เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง เพื่อใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงานหรือต่อยอดสร้างความรู้ใหม่เทคโนโลยีและนวัตกรรม
4. การใช้ประโยชน์จากความรู้ หมายถึง การใช้ประโยชน์จากความรู้หมายถึง การนำความรู้ที่พัฒนาแล้วที่มีอยู่ในตัวคนหรือที่จัดเก็บไว้มาให้ข้าราชการสืบค้นตามความต้องการที่จำเป็น ได้ทันทีที่ต้องการ และสามารถนำความรู้ไปใช้ในการวิเคราะห์ วินิจฉัย กระบวนการทำงาน การวางแผน หรือการตัดสินใจ
5. การแบ่งปันความรู้ หมายถึง การแบ่งปันความรู้ หมายถึง การถ่ายโอน (transfer) หรือแบ่งปัน (share) ความรู้ระหว่างข้าราชการแต่ละคนหรือแต่ละกลุ่มด้วยกิจกรรมต่าง ๆ และสนับสนุนให้ข้าราชการมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนความรู้ ต่อยอดความและเพิ่มทักษะซึ่งกันและกัน ทำให้สามารถนำความรู้และทักษะนั้นไปปฏิบัติตามได้ทันทีและมีคุณค่ามาก
6. การรักษาความรู้ หมายถึง การเก็บรักษาความรู้ให้คงอยู่ในองค์กร เพื่อให้ข้าราชการแต่ละคน แต่ละกลุ่มสามารถเข้าถึงความรู้ได้ตลอดเวลา รวมทั้งการทำให้ความรู้เป็นปัจจุบันหรือทันสมัยอยู่เสมอ

อ้างอิง
http://203.157.19.120/km_ict/?p=392 .  สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม  2556.


          ยุทธนา แซ่เตียว. (2547). การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้สร้างองค์กรอัจฉริยะ กรุงเทพฯ : สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.

5. องค์ประกอบการจัดการความรู้

ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์. (2549 : 101). ได้รวบรวมองค์ประกอบสำคัญในกาสนับสนุนการจัดการความรู้ ดังนี้ คือ
1.กลยุทธ์
-กลยุทธ์องค์การที่เชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์
-กลยุทธ์การจัดการความรู้ที่เหมาะสม
-ตัวแบบการจัดการความรู้
2.คน
-การจัดการทรัพยากรมนุษย์ให้สอดคล้องกับการจัดการความรู้
-การพัฒนาบุคคลากรด้านความรู้
-บทบาท ผู้บริหารและบุคคลอื่น
3.วัฒนธรรม
-สร้างสรรค์ค่านิยมหลักในการสร้างแลกเปลี่ยนและแบ่งปันความรู้
4.เทคโนโลยีสารสนเทศ
-สนับสนุนกระบวนการต่างๆของการจัดการความรู้
5.การประเมินผล
-กำหนดรูปแบบในการประเมินผล
-กำหนดผู้รับผิดชอบ
-การนำผลการประเมินมาปรับปรุง
6.โครงสร้างองค์การ
-โครงสร้างที่เอื้ออำนวยต่อการสร้าง ประมวล แลกเปลี่ยนและเผยแพร่ความรู้

http://www.thaiall.com/km/indexo.html  รวบรวมไว้ว่า  องค์ประกอบสำคัญของการจัดการความรู้
1. “คนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดเพราะเป็นแหล่งความรู้ และเป็นผู้นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์
 2.“เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือเพื่อให้คนสามารถค้นหา จัดเก็บ แลกเปลี่ยน รวมทั้งนำความรู้ไปใช้อย่างง่าย และรวดเร็วขึ้น
 3.“กระบวนการความรู้เป็นการบริหารจัดการ เพื่อนำความรู้จากแหล่งความรู้ไปให้ผู้ใช้ เพื่อทำให้เกิดการปรับปรุง และนวัตกรรม องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้ จะต้องเชื่อมโยงและบูรณาการอย่างสมดุล การจัดการความรู้ของกรมการปกครอง จากพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 กำหนดให้ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการ เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่าง ๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติรายการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและเหมะสมต่อสถานการณ์ รวมทั้งต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้ ความสามารถ สร้างวิสัยทัศน์ และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการในสังกัดให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและมีการเรียนรู้ร่วมกัน ขอบเขต KM ที่ได้มีการพิจารณาแล้วเห็นว่ามีความสำคัญเร่งด่วนในขณะนี้ คือ การจัดการองค์ความรู้เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการ และได้กำหนดเป้าหมาย (Desired State) ของ KM ที่จะดำเนินการในปี 2549 คือ มุ่งเน้นให้อำเภอ/กิ่งอำเภอ เป็นศูนย์กลางองค์ความรู้ เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการในพื้นที่ที่เป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยมีหน่วยที่วัดผลได้เป็นรูปธรรม คือ อำเภอ/กิ่งอำเภอ มีข้อมูลผลสำเร็จ การแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการในศูนย์ปฏิบัติการฯ ไม่น้อยกว่าศูนย์ละ 1 เรื่อง และเพื่อให้เป้าหมายบรรลุผล ได้จัดให้มีกิจกรรมกระบวนการจัดการความรู้ (KM Process) และกิจกรรมกระบวนการเปลี่ยนแปลง (Change Management Process) ควบคู่กันไป โดยมีความคาดหวังว่าแผนการจัดการความรู้นี้จะเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญสู่การปฏิบัติราชการในขอบเขต KM และเป้าหมาย KM ในเรื่องอื่น ๆ และนำไปสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืนต่อไป

http://teacher80std.blogspot.com/2012/07/114.html  (2555 : 1).  รวบรวมไว้ว่า องค์ประกอบสำคัญของการจัดการความรู้ในสถานศึกษา
1. บุคลากร (ครู)  หมายถึง ครู บุคลากรทางการศึกษา เจ้าหน้าที่ ผู้ปฏิบัติงาน ภูมิปัญญา หรือผู้ที่มีส่วนในการจัดกิจกรรมทางการศึกษา เป็นผู้นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อกระบวนการจัดการศึกษา
2. ข้อมูล/ความรู้ หมายถึงข้อมูล ความรู้ หรือประสบการณ์ต่างๆที่อยู่ในบุคลากร (ครู) สาระเนื้อหาการเรียนรู้ (ตาม)หลักสูตร สื่อ และองค์ประกอบอื่นๆ ที่ใช้ในการเรียนรู้ ถูกนำมาบูรณาการเพื่อการเรียนรู้ และการเข้าถึง นำไปสู่การเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ
3. เทคโนโลยีและการสื่อสาร เป็นเครื่องมือเพื่อให้คนสามารถค้นหา จัดเก็บ แลกเปลี่ยน นำความรู้ไปใช้ได้อย่างง่ายและรวดเร็วขึ้น การจัดการความรู้ มีความจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีสนับสนุนและเป็นเทคโนโลยีขั้นสูง คือระบบสารสนเทศระบบการเรียนรู้ ระบบการสื่อสาร และระบบสนับสนุน กระบวนการ กระบวนการประกอบด้วยขั้นตอน การแสวงหา การสร้าง การเก็บและเรียกใช้ การถ่ายโอน
4. วิธีการและกระบวนการ หมายถึงวิธีการบริหารและจัดการเพื่อนำมวลความรู้ จากแหล่งความรู้นำไปเผยแพร่ในระบบอย่างมีระบบและประสิทธิภาพต่อการเรียนรู้สูงสุด

สรุปได้ว่า
เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่าง ๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติรายการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและเหมะสมต่อสถานการณ์ รวมทั้งต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้ ความสามารถ สร้างวิสัยทัศน์ และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการในสังกัดให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและมีการเรียนรู้ร่วมกัน

อ้างอิง
ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์. (2549). องค์การแห่งความรู้:จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่3.กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์รัตนไตร.

http://teacher80std.blogspot.com/2012/07/114.html สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2556.


http://teacher80std.blogspot.com/2012/07/114.html สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2556.

วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

4. เป้าหมายของการจัดการความรู้

http://portal.in.th/learninghome/pages/12088/  ได้รวบรวมไว้ว่า การจัดการความรู้เป็นกระบวนการที่เป็นวงจร ต่อเนื่อง เกิดการพัฒนางานอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เป้าหมาย คือ การพัฒนางานและพัฒนาคน โดยมีความรู้เป็นเครื่องมือ มีกระบวนการจัดการความรู้เป็นเครื่องมือ การจัดการความรู้มีเป้าหมาย 3ประการใหญ่ ๆ ได้แก่ (1) เพื่อพัฒนางาน ให้มีคุณภาพและผลสัมฤทธิ์ยิ่งขึ้น (2) เพื่อการพัฒนาคน คือ พัฒนาผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งในที่นี้ได้ประโยชน์มากที่สุด คือ ข้าราชการชั้นผู้น้อย (3) เพื่อการพัฒนา "ฐานความรู้" ขององค์กรหรือหน่วยงานหรือทุนปัญญาขององค์กร ซึ่งจะช่วยทำให้องค์กรลดความยากลำบากหรือความไม่แน่นอนในอนาคตลง
วิจารณ์ พานิช . (2544 : 34)  ได้กล่าวไว้ว่า การจัดการความรู้มีเป้าหมาย 3 ประการใหญ่ ๆ ได้แก่ (1) เพื่อพัฒนางาน ให้มีคุณภาพและผลสัมฤทธิ์ยิ่งขึ้น (2) เพื่อการพัฒนาคน คือ พัฒนาผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งในที่นี้ได้ประโยชน์มากที่สุด คือ ข้าราชการชั้นผู้น้อย (3) เพื่อการพัฒนา "ฐานความรู้" ขององค์กรหรือหน่วยงานหรือทุนปัญญาขององค์กร ซึ่งจะช่วยทำให้องค์กรลดความยากลำบากหรือความไม่แน่นอนในอนาคตลง
http://region4.prd.go.th/ewt_news.php?nid=1736&filename=km_web ได้รวบรวมไว้ว่า การจัดการความรู้เป็นกระบวนการที่เป็นวงจรต่อเนื่อง เกิดการพัฒนางานอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เป้าหมาย คือ การพัฒนางานและพัฒนาคน โดยมีความรู้เป็นเครื่องมือ มีกระบวนการจัดการความรู้เป็นเครื่องมือ เป้าหมายในการจัดการความรู้ สามารถแบ่งออกได้ ๓ ระดับ ดังนี้ 1. พัฒนาองค์กร คือ สามารถบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ตามวิสัยทัศน์ / ยุทธศาสตร์ เช่นผู้รับบริการมีความพึงพอใจ 2. พัฒนากระบวนการทำงานทั้งให้เกิดประสิทธิภาพ เช่น ความผิดพลาดลดลง, ปรับปรุง พัฒนากระบวนการให้ทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ให้เกิดประสิทธิผล เช่น การพัฒนาผลผลิต, การลดต้นทุน และให้เกิดนวัตกรรม เช่น พัฒนาการระดมความคิด, การนำแนวความคิดใหม่มาใช้จริง 3. พัฒนาคน เพื่อให้บุคลากรเกิดการเรียนรู้ มีความคล่องตัวในการทำงาน และบุคลากรเกิดความพึงพอใจในการทำงาน สรุป การจัดการความรู้เป็นกระบวนการที่เป็นวงจรต่อเนื่อง เกิดการพัฒนางานอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เป้าหมาย คือ การพัฒนางานและพัฒนาคน โดยมีความรู้เป็นเครื่องมือ มีกระบวนการจัดการความรู้เป็นเครื่องมือ เป้าหมายในการจัดการความรู้ สามารถแบ่งออกได้ ๓ ระดับ ดังนี้ (1) เพื่อพัฒนางาน ให้มีคุณภาพและผลสัมฤทธิ์ยิ่งขึ้น (2) เพื่อการพัฒนาคน คือ พัฒนาผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งในที่นี้ได้ประโยชน์มากที่สุด คือ ข้าราชการชั้นผู้น้อย (3) เพื่อการพัฒนา "ฐานความรู้" ขององค์กรหรือหน่วยงานหรือทุนปัญญาขององค์กร ซึ่งจะช่วยทำให้องค์กรลดความยากลำบากหรือความไม่แน่นอนในอนาคตลง

กล่าวโดยสรุป
เป้าหมายหลักของการจัดการความรู้  คือ การใช้ประโยชน์จากความรู้มาเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงานขององค์การเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันขององค์การ การจัดการความรู้มีความสำคัญอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วหรือกำลังพัฒนาก็ตาม เป้าหมายของการจัดการความรู้ มีดังนี้
1. เพื่อปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานทางธุรกิจที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
2. เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ
3. เพื่อปรับปรุงเทคนิค กระบวนการ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และนำความรู้นั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์

ที่มา
http://portal.in.th/learninghome/pages/12088/  ได้เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 19 กรกฎคม 2555
วิจารณ์ พานิช . (2544). การจัดการองค์ความรู้. กรุงเทพฯ: สามเจริญพานิช. เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 19 กรกฎคม 2556

http://region4.prd.go.th/ewt_news.php?nid=1736&filename=km_web ได้เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 19 กรกฎคม 2556

วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

3. หลักการจัดการความรู้


               วิจารณ์ พานิช (2549 : 23-24) หลักจัดการความรู้ หรือเคเอ็ม (KM = Knowledge Management) คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด
            โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ 1) ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม 2) ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม
            
                บูรชัย  ศิริมหาสาคร (2548 : 56-58) ได้กล่าวว่า หลักการจัดการความรู้ มีแนวคิดที่เชื่อว่า บุคลากรเป็นทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุดขององค์กร (People are our most important asset) โดยเชื่อมั่นว่า บุคลากรเป็นปัจจัยหลักที่จะทำให้องค์กรบรรลุจุดประสงค์และเป้าหมายได้ โดยเฉพาะในโลกยุคปัจจุบันซึ่งถือว่า เป็นยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge – based Economy) ซึ่งเป็นเศรษฐกิจที่อาศัยความรู้เป็นตัวขับเคลื่อนหลัก ที่ทำให้เกิดการเติบโตและสร้างงานในอุตสาหกรรม ทุกรูปแบบการที่องค์กรจะสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ซึ่งขึ้นอยู่กับวงจรการเรียนรู้ในองค์กรโดยมีกระบวนการที่เป็นระบบในการค้นหา สร้าง รวบรวม จัดเก็บ เผยแพร่ ถ่ายทอด แบ่งปันและใช้ความรู้  ส่วน วันทนา เมืองจันทร์ (2548) ยังมีแนวคิดของการจัดการความรู้ ว่า รูปแบบวิธีการพัฒนาให้ส่วน ราชการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ วิธีหนึ่ง คือ การจัดการความรู้
            
                 นพ.วิจารณ์ พานิช  (2544 : 12-14) ได้กล่าวว่า การจัดการความรู้สามารถใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 4 ประการ ได้แก่ 1) บรรลุเป้าหมายของงาน 2) บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน 3) บรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปเป็นองค์กรเรียนรู้ 4) บรรลุความเป็นชุมชน เป็นหมู่คณะ ความเอื้ออาทรระหว่างกันในที่ทำงาน

กล่าวโดยสรุป
            หลักการจัดความรู้ คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด

ที่มา

              วิจารณ์ พานิช.  (2549). การจัดการความรู้ฉบับนักปฏิบัติ. กรุงเทพ : บริษัทตถาดา พับลิเคชั่น.
      
               บูรชัย  ศิริมหาสาคร . (2548). องค์การแห่งความรู้: จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร. สำนักพิมพ์รัตนไตร.

              นพ.วิจารณ์ พานิช . (2544).  การจัดการความรู้ . กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์ ห้างหุ้นส่วน  จำกัด โรงพิมพ์อักษรไทย.


2. นิยามการจัดการความรู้

            พรธิดา วิเชียรปัญญา (2547:32) ได้กล่าวไว้ว่า การจัดการความรู้ หมายถึงกระบวนการอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับการประมวลข้อมูล สารสนเทศ ความคิด การกระทำ ตลอดจนประสบการณ์ของบุคคล เพื่อสร้างเป็นความรู้หรือนวัตกรรม และการจัดเก็บในลักษณะของแหล่งข้อมูลที่บุคคลสามารถเข้าเข้าถึงได้ โดยอาศัยช่องทางต่างๆที่องค์กรจัดเตรียมไว้ เพื่อนำความรู้ที่มีอยู่ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน ซึ่งก่อให้เกิดการแบ่งปันและถ่ายโอนความรู้ และในที่สุดความรู้ที่มีอยู่จะแพร่กระจายและไหลเวียนทั่วทั้งองค์กรอย่างสมดุล เป็นไปเพื่อเพิ่มความสามารถในการพัฒนาผลผลิตและองค์กร
ประเวศ วะสี (2548:31-32) ได้กล่าวไว้ว่า คำว่า การจัดการอาจทำให้เกิดความรู้สึกที่ไม่ค่อยดีนักในสังคมไทย เพราะเหมือนจะไปใช้อำนาจจัดการอะไรๆ แต่คำว่า จัดการความรู้ (Knowledge Management) มีความหมายจำเพาะ ว่าหมายถึงการจัดการให้มีการค้นพบความรู้ ความชำนาญที่แฝงเร้นในตัวคน หาทางนำออกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตกแต่งให้ง่ายต่อการใช้สอยและมีประโยชน์เพิ่มขึ้น มีการต่อยอดให้งดงาม และใช้ได้เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงและกาลเทศะยิ่งขึ้น มีความรู้ใหม่หรือนวัตกรรมเกิดขึ้นจากการเอาความรู้ที่ไม่เหมือนกันมาเจอกัน ข้อสำคัญก่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันของคนทั้งหมดที่ร่วมในกระบวนการก่อให้เกิดปัญญาร่วม (Collective Wisdom) ทำให้แก้ปัญหาหรือพัฒนาในเรื่องยากๆ ได้สำเร็จ
ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์ (2549:47) ได้กล่าวไว้ว่า การจัดการความรู้คือ กระบวนการในการสร้าง ประมวล เผยแพร่ และใช้ความรู้ เพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการดำเนินงาน

กล่าวโดยสรุป
             การจัดการความรู้ หมายถึงกระบวนการอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับการประมวลข้อมูล สารสนเทศ ความคิด การกระทำ ตลอดจนประสบการณ์ของบุคคล เพื่อสร้างเป็นความรู้หรือนวัตกรรม และการจัดเก็บในลักษณะของแหล่งข้อมูลที่บุคคลสามารถเข้าเข้าถึงได้ โดยอาศัยช่องทางต่างๆที่องค์กรจัดเตรียมไว้ เพื่อนำความรู้ที่มีอยู่ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน เผยแพร่ และใช้ความรู้ เพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการดำเนินงาน

ที่มา
พรธิดา วิเชียรปัญญา.(2547).การจัดการความรู้: พื้นฐานและการประยุกต์ใช้.กรุงเทพฯ:เอ็กเปอร์เน็ท.
ประเวศ  วะสี. (2548). การจัดการความรู้ : กระบวนการปลดปล่อยมนุษย์สู่ศักยภาพ เสรีภาพ และความสุข. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม.
                ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์.(2549).องค์การแห่งความรู้:จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ.รัตนไตร กรุงเทพฯ

1. นิยามความรู้

                มานัส ปันหล้า (http://www.gotoknow.org/posts/396638) ได้รวบรวมไว้ว่า ความรู้ คือ สารสนเทศที่นำไปสู่การปฏิบัติ เป็นเนื้อหาข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยข้อเท็จจริง ความคิดเห็น ทฤษฎี หลักการ รูปแบบ กรอบความคิด หรือข้อมูลอื่นๆที่มีความจำเป็น และเป็นกรอบของการผสมผสานระหว่างประสบการณ์ ค่านิยม ความรอบรู้ในบริบท สำหรับการประเมินค่า และการนำเอาประสบการณ์กับสารสนเทศใหม่ ๆ มาผสมรวมเข้าด้วยกัน
                ชัชวาล วงษ์ประเสริฐ(2548:17) ได้รวบรวมไว้ว่า ความรู้คือ กรอบของความผสมผสานระหว่างสถานการณ์ ค่านิยม ความรู้ในบริบท และความรู้แจ้งอย่างชัดเจน ซึ่งโดยทั่วไปความรู้จะอยู่ใกล้ชิดกับกิจกรรมมากกว่าข้อมูล และสารสนเทศทำให้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญของความรู้
                พรรณี สวนเพลง (2552:15) ได้รวบรวมไว้ว่า ความรู้หมายถึงสิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้า หรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติ และทักษะความเข้าใจ หรือสารสนเทศที่ได้รับมาจากประสบการณ์ สภาพแวดล้อมที่สามารถสื่อสารและแบ่งปันกันได้ และการนำความรู้ไปใช้ ประโยชน์ในการสรุป การตัดสินใจ และการคาดการณ์ข้างหน้า รวมถึงการแก้ไขปัญหาต่างๆ

กล่าวโดยสรุป
             ความรู้ คือ สารสนเทศที่นำไปสู่การปฏิบัติ เป็นเนื้อหาข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยข้อเท็จจริง ความคิดเห็น ทฤษฎี หลักการ รูปแบบ กรอบความคิด หรือข้อมูลอื่นๆที่มีความจำเป็นซึ่งโดยทั่วไปความรู้จะอยู่ใกล้ชิดกับกิจกรรมมากกว่าข้อมูล และอาจสั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้า หรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติ และทักษะความเข้าใจ หรือสารสนเทศที่ได้รับมาจากประสบการณ์ สภาพแวดล้อมที่สามารถสื่อสารและแบ่งปันกันได้ และการนำความรู้ไปใช้ ประโยชน์ในการสรุป การตัดสินใจ และการคาดการณ์ข้างหน้า รวมถึงการแก้ไขปัญหาต่างๆ

ที่มา:
                มานัส ปันหล้า .ชื่อเว็บไซต์ http://www.gotoknow.org/posts/396638 เข้าถึงเมื่อ 22 เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2556.
                ชัชวาล วงษ์ประเสริฐ.(2548).การจัดการความรู้ในองค์กรธุรกิจ.กรุงเทพฯ:เอ็กซเปอร์เน็ท.
                พรรณี สวนเพลง. (2552).เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมสำหรับการจัดการความรู้.กรุงเทพฯ:ซีเอ็ดยูเคชั่น